ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติการทะเบียนราษฎร
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการแจ้งการเกิด
|
เด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าจะเป็นบุตรของคนสัญชาติไทย หรือเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นบุตรของผู้หลบหนีเข้าเมือง ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดคือ บิดา มารดา ผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ณ สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด หรือจะแจ้งต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่อื่นที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก็ได้ และนายทะเบียนต้องรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งโดยมีข้อเท็จจริงเท่าที่จะสามารถทราบได้ การแจ้งการเกิดนั้น ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดจะมอบหมายเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นเป็นผู้แจ้งแทนก็ได้ |
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ |
เด็กเกิดในบ้าน (อาคารที่มีบ้านเลขที่ รวมถึงสถานพยาบาล)
ผู้แจ้ง ได้แก่ บิดา หรือมารดา หรือเจ้าบ้านที่เด็กเกิด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา หรือเจ้าบ้าน
ระยะเวลาการแจ้ง ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด
สำนักทะเบียนที่แจ้งการเกิด สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน |
ขั้นตอนการแจ้ง กรณีแจ้ง ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด |
ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน ได้แก่
1. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวของบิดา มารดา (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนประวัติของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
4. หนังสือรับรองการเกิดตามแบบ ท.ร.1/1 ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิด (กรณีเด็กเกิดในสถานพยาบาล)
5. ใบรับแจ้งการเกิดตามแบบ ท.ร.1 ตอนหน้า (กรณีแจ้งเกิดกับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน)
6. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) |
นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานและตรวจสอบ รายการบุคคลของเด็กที่แจ้งเกิดกับฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎรว่าเด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่ ลงรายการในสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด มอบสูติบัตรตอนที่ 1 และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง |
ขั้นตอนการแจ้ง กรณีแจ้ง ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่อื่น |
ผู้แจ้งได้แก่บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน ได้แก่
1. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวของบิดา มารดา (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ปรากฏชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็กที่เกิด
3. หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ที่ออกให้โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เด็กเกิดหรือผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์การเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง
4. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
5. พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน |
นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และะตรวจรายการบุคคลของเด็กที่แจ้งเกิดกับฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร ว่าเด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนแห่งอื่นหรือไม่ สอบสวนผู้แจ้งและพยานบุคคลให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิด ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่เด็กเกิด ประวัติของเด็ก สถานที่อยู่ปัจจุบันของเด็ก บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ลงรายการในสูติบัตร เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 20 บาท และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด มอบสูติบัตรตอนที่ 1 และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง
เด็กเกิดนอกบ้าน
ผู้แจ้ง ได้แก่ บิดา หรือมารดา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา
ระยะเวลาการแจ้ง ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด
สำนักทะเบียนที่แจ้งการเกิด สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็กที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน |
ขั้นตอนการแจ้ง กรณีแจ้ง ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด |
ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน ได้แก่
1. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวของบิดา มารดา (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาทะเบียนประวัติของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อเด็กที่เกิด
4. ใบรับแจ้งการเกิดตามแบบ ท.ร.1 ตอนหน้า (กรณีแจ้งเกิดกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)
5. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และตรวจรายการบุคคลของเด็กที่แจ้งเกิดกับฐานข้อมูลการทะเบียนราษำรว่าเด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่ ลงรายการในสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด มอบสูติบัตรตอนที่ 1 และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง กรณีเด็กที่เกิดเป็นคนต่างท้องที่ ให้แนะนำผู้แจ้งการเกิดให้แจ้งย้ายที่อยู่เด็กเกิดใหม่ไปยังภูมิลำเนาที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายอาศัยอยู่
|
ขั้นตอนการแจ้ง กรณีแจ้ง ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่อื่น |
ผู้แจ้งได้แก่บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน ได้แก่ |
1. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง และบัตรประจำตัวของบิดา มารดา (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ปรากฏชื่อบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของเด็กที่เกิด
3. ผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์ เช่น ผลการตรวจ ดีเอ็นเอ ที่ตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานของรัฐหรือสถานบันที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งแสดงความสัมพันธ์การเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิด
4. พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน
5. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) |
นายทะเบียนดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และตรวจรายการบุคคลของเด็กที่แจ้งเกิดกับฐานข้อมูลการทะเบียนราษำรว่าเด็กมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่ สอบสวนผู้แจ้งและพยานบุคคล ให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่ไม่แจ้งการเกิด ณ สำนักทะเบียนแห่งท้องที่เด็กเกิด ประวัติของเด็ก สถานที่อยู่ปัจจุบันของเด็ก บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ลงรายการในสูติบัตร เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 20 บาท และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เด็กเกิด มอบสูติบัตรตอนที่ 1 และหลักฐานประกอบการแจ้งคืนให้ผู้แจ้ง |