|
||||||||||||||||||||
| ความรู้ภาษีท้องถิ่น | | ชำระภาษีออนไลน์ผ่าน LINE Official Account เทศบาลตำบลปลาโหล | |
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
มาตรการและแนวทางในการประหยัดพลังงาน
รายละเอียด
มาตรการและแนวทางในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เทศบาลตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 1. การใช้เครื่องปรับอากาศ1) ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศาเซลเซียส 2) การเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศ 1. เครื่องปรับอากาศประจำห้องทำงานช่วงเช้า ให้เปิดเครื่องเวลา 10.00 – 11.30 น. และช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 16.00 น. 2. ปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงพักเที่ยง 3. เครื่องปรับอากาศประจำห้องประชุม ให้เปิดเครื่องก่อนเวลาประชุม 30 นาที และปิดเมื่อเลิกใช้ทันที 4. ปิดเครื่องปรับอากาศ ขนาด 1 ตัน (12,000 บีทียู) เร็วขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง ลดไฟได้ 21 หน่วยต่อเดือน ประหยัดได้ 52.50 บาทต่อเดือน 5. ถ้าปิดเร็วขึ้นวันละ 1 ชั่วโมง 1 ล้านเครื่อง จะประหยัดไฟให้ประเทศเดือนละ 52.50 ล้านบาท หรือ 630 ล้านบาทต่อไป 6. การปรับเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น 1 C จะลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศลงได้ 4-10 % 7. เปิดพัดลดในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศจะให้ทำรูสึกว่าอุณหภูมิเย็นลง 2 องศาเซลเซียส - ข้อดีข้อที่หนึ่ง ช่วยให้เรารู้สึกสบาย “สภาวะความสบาย” ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความชื้นและการเคลื่อนไหวของอากาศนั่นเอง เพราะฉะนั้นเปิดแอร์เพื่อความเย็นเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ แอร์ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ลมพัดมากระทบตัวเราบ้าง โดยเฉพาะการเปิดพัดลม จะเพิ่มการเคลื่อนไหวของอากาศภายในห้อง และช่วยลดความชื้นในอากาศได้อีกด้วย ข้อดีข้อที่สอง ช่วยประหยัดพลังงานได้ 20 % ถ้าเปิดพัดลมเบอร์ 3 ตั้งไว้ห่างจากตัว 3 เมตร จะทำให้เรารู้สึกเย็นขึ้นอีก 2-3 องศาเซลเซียส ทำให้แอร์ทำงานน้อยลง 2-3 องศาเซลเซียส จะช่วยลดพลังงานได้มากกว่าพลังงานที่ใช้ในการเปิดพัดลมมาก 8 ฤดูฝน ฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น หรือฤดูหนาวอากาศเย็นก็ไม่ต้องเปิดแอร์ 3) การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ 1. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ(ฟิลเตอร์) ทุกอาทิตย์ โดยการเปิดหน้ากากแอร์ขึ้นมา แล้วดึงแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า 2. หมั่นล้างทำความสะอาดโดยการฉีดน้ำล้างที่คอยล์ร้อนทั้งคอยล์เย็น (ล้างใหญ่) โดยช่างผู้ชำนาญ ทุกๆ 3-6 เดือน แล้วแต่สภาพแวดล้อมและลักษณะการใช้งาน ถ้าอยู่ติดถนนมีฝุ่นมากหรือเปิดใช้งานทุกวันควรล้างแอร์บ่อยขึ้น เพราะจะทำให้ประหยัดไฟและแอร์ไม่ทำงานหนัก แอร์จะได้มีอายุการใช้งานยืนยาวขึ้น 3. หลังจากการล้างแอร์ ควรให้ช่างทำการเช็คระดับแรงดันน้ำยาว่าปกติดีหรือไม่ 4. หมั่นคอยสังเกตเสียงการทำงานของแอร์ ถ้ามีเสียงดังผิดปกติ หรือแอร์ไม่ค่อยเย็นควรรีบเรียกช่างมาทำการตรวจเช็ค เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น 5. ไม่ควรนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ค่าความร้อนสูง เช่น เตารีด หม้อหุงข้าว เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น มาใช้ในห้องแอร์เพราะจะทำให้แอร์ทำงานหนักโดยใช่เหตุอีกทั้งยังทำให้เปลืองค่าไฟฟ้าอีกด้วย 6. เก็บวางรีโมตไว้ในที่สูง หรือเป็นที่เป็นทางเพื่อป้องกันเด็กมาเล่นจนหล่นบ่อยๆ และอาจทำให้โหมดของแอร์ที่ตั้งไว้คลาดเคลื่อน 4) การลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ 1. ตรวจสอบมิให้มีการนำสิ่งของไปวางขวางทางเข้า-ออกของชุดระบายความร้อน 2. เปิด-ปิดประตูเข้าออกของห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเท่าที่จำเป็น แลระมัดระวังไม่ให้เปิดประตูห้องค้างไว 2. การใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง1. ให้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานตามมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง หรือ ฉลากเบอร์ 5 2. เปลี่ยนจากหลอดผอม (ฟลูออเรสเซนต์) เป็นหลอด LED ประหยัดไฟถึง 60 % 3. เปลี่ยนจากหลอดไส้เป็นหลอดคอมแพกต์ประหยัดได้มากกว่า 75 % 4. ปิดไฟ /เปิดม่าน หรือหน้าต่างเพื่อรับแสงธรรมชาติแทนการใช้หลอดไฟ 5. เปิด-ปิดไฟฟ้าแสงสว่างเท่าที่จำเป็น 6. กำหนดให้มีรับผิดชอบในการเปิด-ปิดไฟฟ้าแสงสว่างส่วนกลาง 7. ถอดหลอดไฟฟ้าและแสงสว่างในบางจุดที่ไม่จำเป็นหรือบริเวณที่มีแสงสว่างมากเกิดความจำเป็น 8. การเปิด-ปิดไฟฟ้าในเวลากลางคืนของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้เปิดไฟฟ้าเฉพาะจุดที่จำเป็นและไม่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลและทรัพย์สินราชการ 9. จัดทำความสะอาดโคมไฟ หลอดไฟ และแผ่นสะท้อนแสงเพื่อให้แสงสว่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการทำความสะอาดทุกปี/ครั้ง 3. การใช้อุปกรณ์สำนักงาน 1) คอมพิวเตอร์ 1. เลือกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบประหยัดพลังงาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Energy Star เพราะระบบนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าลดลงร้อยละ 55 ในขณะที่รอทำงา 2. ใช้ คอมพิวเตอร์ notebook แทน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop จะประหยัดไฟได้มากกว่า 60 % 3. ในช่วงที่ไม่ได้ใช้งาน ถ้าตั้งเป็นระบบ Screen Saver เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจะทำให้กินไฟอยู่ที่ประมาณเท่าเดิม 4. ถ้าไม่ใช้แล้วปิดจอ (ไม่ปิดคอม) จะกินไฟอยู่ประมาณ 60 วัตต์ ประหยัดได้มากกว่า 55 % กว่าการตั้งด้วย Screen Saver 5. ปิดเครื่องเมื่อไม่มีการใช้งานภายใน ๓๐ นาที 6. เปิดใช้โหมด Standby/Sleep และตั้งค่าการจัดการพลังงานให้เหมาะสม 7. ตั้งโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์พักจอภาพ Screen Saver อัตโนมัติเมื่อมีไม่มีใช้งานภายใน ๕ นาที เพื่อรักษาคุณภาพของหน้าจอ 8. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งาน 2) ปิดเครื่องพิมพ์ (Printer) เมื่อเลิกใช้งาน 3) เครื่องถ่ายเอกสาร 1. กดปุ่มพักเครื่องถ่ายเอกสาร (Standby Mode) เมื่อใช้งานเสร็จ 2. ถ่ายเอกสารเฉพาะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 3. ให้ตรวจทานเอกสารให้ถูกต้องก่อนการถ่าย 4. ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อปิดเครื่องถ่ายเอกสาร
4) เครื่องทำน้ำร้อน 1 ถอดปลั๊กเครื่องทำน้ำร้อนทุกครั้ง หลักเลิกงานและนอกเวลาราชการ 4. การใช้ห้องประชุม 1. ให้จองห้องประชุม ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วัน 5. ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ 1. ใช้เท่าที่จำเป็นและถอดปลั๊กทันทีเมื่อเลิกใช้งาน มาตรการและแนวทางในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง 2. การใช้รถยนต์ 1. รถยนต์ การสั่งจ่าย รถยนต์ โดยผู้มีอำนาจ ตามคำสั่ง 2. ให้ผู้ขอใช้จองล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วัน เพื่อให้การบริหารการสั่งจ่ายรถยนต์ให้เหมาะสมกับการเดินทาง (ยกเว้นกรณีเร่งด่วน) 3. ผู้รับผิดชอบสั่งจ่ายรถยนต์มีหน้าที่ในการวางแผนและพิจารณาการเดินทางเส้นทางเดียวกันควรไปด้วยกันโดยจะประสานและแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อรับทราบหรือกรณียกเว้นที่ไม่สามารถไปด้วยกันได้ 4. การจัดส่งหนังสือ หรือเป็นหนังสือด่วนมากหรือด่วนที่สุดขอให้จัดส่งทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้รถยนต์ส่วนกลางหรือกรณียกเว้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้ 5. การจัดส่งเอกสารด้วยบริการรับฝากสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ 6. การอนุญาตใช้รถยนต์ให้ใช้เพื่อกิจการอันเป็นส่วนรวม เพื่อประโยชน์ของทางราชการอย่างจำเป็นหรือเหมาะสม โดยมุ่งหมายเรื่องราชการเป็นสำคัญ 7. ควบคุมการใช้น้ำมันเชื่อเพลิงอย่างประหยัดเติมน้ำมันให้ถูกชนิด สอดคล้องกับระยะทาง 2. การขับรถของพนักงานขับรถยนต์ 1. ควรสอบถามข้อมูลเพื่อการเดินทางไม่ให้ผิดพลาด คือ ถูกสถานที่ ถูกเวลา และถูกเส้นทาง 2. ควรวางแผนการเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางจราจรติดขัด 3. ขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด 4. ใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วของเครื่องยนต์ 5. เปิดเครื่องปรับอากาศตามความจำเป็นเฉพาะเมื่อมีเจ้าหน้าที่บางส่วนรอคอยบนรถ 3. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 1. ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีและปกติ โดยการตรวจเช็คตามกำหนดระยะเวลา/เลขไมล์ ตรวจเช็คระดับน้ำในหม้อน้ำฯลฯ 2. ตรวจสอบระบบน้ำมันเชื่อเพลิงหากพบรอยรั่วให้รีบรายงานซ่อมทันที 3. ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมอ
ไฟล์เอกสารแนบ |
e-mail กลางในการรับส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : saraban_05470603@dla.go.th