|
||||||||||||||||||||
| ความรู้ภาษีท้องถิ่น | | ชำระภาษีออนไลน์ผ่าน LINE Official Account เทศบาลตำบลปลาโหล | |
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
สภาพทั่วไป
รายละเอียด
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1. ด้านกายภาพ 1.1 ลักษณะทั่วไปทางกายภาพ ที่ตั้งและอาณาเขต เทศบาลตำบลปลาโหลในอดีตมีฐานะเป็นสภาตำบลนิติบุคคล ได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปลาโหล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ.2537 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2539 และได้รับการแต่งตั้งเป็นเทศบาลตำบลปลาโหล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 และได้รับการประกาศเป็นเทศบาลขนาดกลาง เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกเทศมนตรีตำบลปลาโหล นายดำเนิน สอนไชยา เป็นผู้บริหารสูงสุดภายในเขตเทศบาลตำบลปลาโหล มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง เทศบาลตำบลปลาโหล ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านปลาโหล ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ทางทิศเหนือของจังหวัดสกลนครอยู่ในเขตระหว่างละติจูด 113 องศา 35 ลิปดา ถึงละติจูด 113 องศา 45 ลิปดา และลองติจูด 17 องศา 15 ลิปดา ถึงลองติจูด 17 องศา 25 ลิปดา มีเนื้อที่ประมาณ 115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 71,875 ไร่ มีระยะทางห่างจากอำเภอวาริชภูมิ ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสกลนคร ประมาณ 62 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 711 กิโลเมตร เทศบาลตำบลปลาโหล มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลพังโคน และตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลแร่ อำเภอพังโคน ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ และตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน < ช่องทางการติดต่อสื่อสาร โทรศัพท์/ โทรสาร. 0-4216-5214 www.plalo.go.th E-Mail : tambolplalo @ hotmail.com
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปภูมิประเทศของเทศบาลตำบลปลาโหล มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบสูง ราบลุ่มเป็นบางส่วน มีลำห้วยปลาหางไหลผ่าน ลักษณะดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการทำการเกษตร ใช้ในการทำนา สภาพป่าปนไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา มันสำปะหลัง และยังมีพื้นที่บางส่วนเหมาะในการส่งเสริมและสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น หาดหินดงคำโพธิ์ 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของตำบลปลาโหล โดยฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าว ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาว ตำบลปลาโหลมีฤดูกาล ดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ไป จนถึงปลายเดือนพฤษภาคม รวมระยะเวลา 3 เดือน ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนตุลาคม รวมระยะเวลา 4 – 5 เดือน ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ รวมระยะเวลา 4 เดือน ในตอนต้นเดือนตุลาคมนั้น เป็นระยะเปลี่ยนฤดูระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาวอาจมีฝนตกได้เป็นบางวัน 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินร่วนปนทราย เหมาะสำหรับการทำการเกษตร ทำนา ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา มันสำปะหลัง และยังมีพื้นที่บางส่วนเหมาะในการส่งเสริมและสนับสนุนเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น หาดหินดงคำโพธิ์ 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ มีลำห้วย จำนวน 13 สาย หนองน้ำ จำนวน 15 แห่ง สระน้ำ จำนวน 22 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น มีฝาย บ่อน้ำตื้น บ่อโยก ประปาหมู่บ้าน ทำนบ 1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้ ป่าไม้อนุรักษ์ จำนวน 1 แห่ง
2. ด้านการเมือง/ การปกครอง 1. เขตการปกครอง เทศบาลตำบลปลาโหลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านพังฮฮ หมู่ที่ 9 บ้านดงเชียงเครือ หมู่ที่ 2 บ้านงิ้ว หมู่ที่ 10 บ้านปลาโหลน้อย หมู่ที่ 3 บ้านดอนยานาง หมู่ที่ 11 บ้านดงคำโพธิ์ หมู่ที่ 4 บ้านปลาโหล หมู่ที่ 12 บ้านหนองท่ม หมู่ที่ 5 บ้านไฮ่ หมู่ที่ 13 บ้านพรสวรรค์ หมู่ที่ 6 บ้านนาบ่อ หมู่ที่ 14 บ้านโนนอุดม หมู่ที่ 7 บ้านผักตบ หมู่ที่ 15 บ้านโค้งป่ากล้วย หมู่ที่ 8 บ้านโคกศาลา หมู่ที่ 16 บ้านผักตบ 2. การเลือกตั้ง เทศบาลตำบลปลาโหล แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต มีสมาชิกสภาเทศบาล ทั้งหมด 12 คน ดังนี้ -
3. ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร 3.1 จากสถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน แยกรายพื้นที่ ระดับตำบล ข้อมูลของเทศบาลตำบลปลาโหล จำนวนประชากรในเขตพื้นที่ตำบลปลาโหล มีจำนวนทั้งสิ้น 12,186 คน จำแนกเป็น ประชากรชาย 6,031 คน และเพศหญิง 6,155 คน โดยมีประชากรเพศหญิงมากกว่าเพศชาย จำนวน 124 คน 3.2 ช่วงอายุ และจำนวนประชากร ณ เดือน ตุลาคม 2559 ในภาพรวมของตำบลปลาโหลมีสัดส่วนของประชากรในวัยเด็ก 0 – 14 ปี วัยแรงงาน 15 – 59 ปี และวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ประชากรในวัยเด็ก ร้อยละ 18 (2,132 คน) วัยแรงงาน ร้อยละ 68 (8,273 คน) และวัยสูงอายุ ร้อยละ 14 ( 1,781 คน) ที่มาจากสถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน แยกรายพื้นที่ ระดับตำบล ข้อมูลของเทศบาลตำบล ปลาโหล จำนวนประชากรในเขตพื้นที่ตำบลปลาโหล ณ เดือน ตุลาคม 2559 1.4 สภาพสังคม 4.1 การศึกษา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง - โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง - โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง 4.2 สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง
จำนวนอาสาสมัครด้านสาธารณสุข - อสม. 239 คน อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ - ร้อยละ 100 4.3 การสังคมสงเคราะห์ - เบี้ยยังชีพคนชรา 1,831 คน - เบี้ยยังชีพคนพิการ / หรือทุพพลภาพ 453 คน - เบี้ยยังชีพผู้ป่วยโรคเอดส์ 30 คน ที่มาของข้อมูล กองสวัสดิการสังคม ณ เดือน ตุลาคม 2561 5. ระบบบริการพื้นฐาน 5.1 การคมนาคม มีถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน / ตำบล มีสภาพเป็นถนนลูกรังและถนนลาดยางบางส่วน มีถนน คสล.ภายในหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลปลาโหล และถนนเชื่อมระหว่างอำเภอ มีสภาพเป็นถนนลาดยาง 5.2 การไฟฟ้า หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลปลาโหล มีไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 16 หมู่บ้าน และยังมีครัวเรือนบางส่วนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ 5.3 การประปา หมู่บ้านในเขตเขตบาลตำบลปลาโหล มีประปาหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน 5.4 โทรศัพท์ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่ 6. ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรในเขตเทศบาลตำบลปลาโหล ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำส่วน ร้อยละ 80 6.2 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ - กลุ่มดอกไม้จันทน์ หมู่ที่ 4 บ้านปลาโหล - กลุ่มแปรรูปปลา หมู่ที่ 11 บ้านดงคำโพธิ์ - กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ หมู่ที่ 2 บ้านงิ้ว - กลุ่มข้าวหอมทอง หมู่ที่ 6 บ้านนาบ่อ 7.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 7.1 การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 7.2 ประเพณี วัฒนธรรม การจัดงานบุญ / งานประเพณีต่าง ๆ จะจัดตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมาทุกปีและตามจารีตประเพณี เช่น ประเพณีลอยกระทง วันสงกรานต์ วันออกพรรษา ไฟล์เอกสารแนบ |
e-mail กลางในการรับส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : saraban_05470603@dla.go.th